เครื่องเลื่อยกล และงานเลื่อย
เครื่องกลึงและงานกลึง

เครื่องเลื่อยกลแบบชัก

ยอดวิว 57.9k
news

เครื่องเลื่อยกลแบบชัก

สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 1 เครื่องเลื่อยกลแบบชัก

1.1 ส่วนประกอบของเครื่องเลื่อย

1. ฐานเครื่อง (Base) เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของเครื่องส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ มีความแข็งแรง

2. โครงเลื่อย (Flae) ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ เป็นที่สำหรับจับยึดใบเลื่อย ทำงานโดยการชักเดินหน้าและถอยหลังเพื่อนำใบเลื่อยเลื่อยตัดชิ้นงาน
จังหวะงานจะมีจังหวะเดียว ในจังหวะยกจะไม่ใช่จังหวะงาน ในการเดินหน้าและถอยหลังกลับหนึ่งครั้งเราเรียกว่า “คู่จังหวะชัก”

3. ปากกาจับยึดงาน (Vise) ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ ใช้สำหรับจับชิ้นงานที่จะนำมาเลื่อย โดยทั่วๆ ไปจะสามารถเอียงเป็นมุมได้ประมาณ 45 องศา ใช้เอียงชิ้นงานเพื่อตัดงานเป็นมุมต่างๆ

4. แขนตั้งระยะตัดชิ้นงาน (Cut off Gage) ทำหน้าที่เป็นตัวตั้งตำแหน่งความยาวงาน เพื่อใช้ตั้งระยะความยาวตัดชิ้นงาน ไม่ต้องเสียเวลามาวัดชิ้นงานทุกชิ้นกรณีต้องการตัดงานที่มีความยาวขนาดเดียวกัน

5. สวิตซ์ปิด-เปิด , ปุ่มฉุกเฉิน(Switch ON-OFF , Emergency Button) เป็นชุดปุ่มปิด-เปิด เครื่องเลื่อย และปุ่มฉุกเฉินใช้ปิดเครื่องกรณีเกิดอุบัติเหตุ

6. มอเตอร์ (Motor) เป็นระบบส่งกำลังเพื่อให้โครงเลื่อยเคลื่อนที่ชักเลื่อยชิ้นงาน

7. น้ำหนักถ่วง ในเครื่องเลื่อยกลแบบชักบางเครื่องจะมีน้ำหนักถ่วงอยู่ที่โครงเลื่อย เพื่อเพิ่มน้ำหนักในการกดตัดให้มากขึ้น


1.2 ใบเลื่อยกลแบบชัก (Saw Blade)

      ใบเลื่อยแบบนี้ จะทำด้วยเหล็กรอบสูง (High Speed Steel) ความยาวของใบเลื่อยจะวัดจากระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของรูใบเลื่อย จะมีขนาด 350 มม.


การบอกระยะห่างของฟันใบเลื่อย จะมีการบอกลักษณะเดียวกับเกลียวดังนี้

      1. ใบเลื่อยที่บอกเป็นระยะพิตช์  คือ การบอกระยะห่างระหว่างฟัน ถ้ามีระยะพิตช์ห่างมาก คือ ใบเลื่อยชนิดหยาบ ถ้ามีระยะพิตช์ห่างน้อย คือ ใบเลื่อยชนิดละเอียด


     2. ใบเลื่อยที่บอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้ว  คือ การบอกจำนวนฟันต่อความยาว 1 นิ้ว ถ้าใน 1 นิ้ว มีจำนวนฟันมากจะเป็นชนิดละเอียด ถ้ามีจำนวนฟันน้อยจะเป็นชนิดหยาบ โดยทั่ว ๆ ไป จะบอกเป็นจำนวนฟันต่อนิ้วมากว่าบอกเป็นระยะพิตซ์ ใบเลื่อยเครื่องกลส่วนใหญ่จะใช้ 10 ฟันต่อนิ้ว


1.3 การจับยึดชิ้นงานเพื่อตัดด้วยเครื่องเลื่อยกล

      การจับยึดชิ้นงานเพื่อตัดด้วยเครื่องเลื่อยกล มีความสำคัญ เพราะชิ้นงานแต่ละอย่าง มีรูปร่างที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะต้องจัดวางตำแหน่งให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับใบเลื่อย เครื่องเลื่อยกล โดยการจัด


1.4 การบำรุงรักษาและความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยกล

              การบำรุงรักษาเครื่องเลื่อยกลแบบชัก

                1) ตรวจสอบสภาพความพร้อมของเครื่องเลื่อยทั้งก่อนใช้และหลังใช้ทุกครั้ง ถ้าอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหายจะต้องทำการซ่อมแซมทันทีเพื่อให้พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา

                2) หยอดน้ำมันหล่อลื่นในส่วนที่เคลื่อนที่ทุกครั้งก่อนใช้งาน เพื่อช่วยลดการเสียดสีทำให้ส่วนดังกล่าวสึกหรอช้าลง

                3) หลังจากเลิกใช้งานแล้วให้ทำความสะอาดทุกครั้งแล้วทำการหยอดน้ำมัน

            ความปลอดภัยในการใช้เครื่องเลื่อยกลแบบชัก

                1) ก่อนใช้เครื่องทุกครั้งจะต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องก่อนทุกครั้ง เช่น ตรวจสอบปลั๊กไฟ สายไฟว่าชำรุดหรือไม่ เพราะถ้าสายไฟชำรุดขณะใช้งานไฟฟ้าอาจจะดูดผู้ปฏิบัติงานได้

                2) จับชิ้นงานให้แน่นก่อนทำการเลื่อยงานเพราะงานอาจจะหลุดกระเด็นได้

                3) จะต้องตรวจสอบความตึงของใบเลื่อยให้มีความตึงที่เหมาะสม ถ้าใบเลื่อยตึงหรือหย่อนเกินไป ใบเลื่อยอาจหักกระเด็นได้

                4) การเลื่อยชิ้นงานที่ยาวๆ จะต้องมีแท่นรองรับชิ้นงานที่แข็งแรง ขณะที่งานขาดถ้าใช้มือรองรับอาจได้รับอุบัติเหตุได้

                5) ในการจับชิ้นงานที่ได้จากการเลื่อยจะมีรอยเยินคม ควรสวมถุงมือและระมัดระวังในขณะหยิบชิ้นงาน