สรุปเนื้อหา
Unit 1 Greeting and Introductions การกล่าวทักทาย ในการทักทายแบบเป็นทางการ สามารถเพิ่ม “ชื่อสกุล” ต่อท้ายคำทักทายได้เพื่อแสดงความเคารพต่อคู่สนทนา เช่น Good morning, Ms. Smith. (มาจากชื่อเต็มว่า Ms. Jones Smith ) แต่หากบุคคลที่ทักทายเป็นคนที่รู้จัก สามารถใช้ “ชื่อจริง” ต่อท้ายคำทักทายได้เลย เช่น “Good morning, Ms. Jones.” ในขณะที่พูดทักทายกัน ชาวอังกฤษและชาวอเมริกันจะมีการจับมือ (handshake) กันกับคู่สนทนา การจับมือกันจะใช้ทักทายกับคนที่รู้จักกันเป็นครั้งแรก หรือใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ดังนี้
เวลาจับมือ (handshaking) กันจะต้องจับมือกันให้กระชับ (firm) พร้อมกับสบตา (eye contact) กับคู่สนทนา หากการทักทายกับเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ ท่าทางการทักทายซึ่งกันและกันคือ การกอด (hugging) หรือ การจูบ (kissing) เป็นต้น
การแนะนำตัวแบบเป็นทางการ หลังจากการกล่าวทักทายกันมักจะมีการแนะนำตัวเองเมื่อเจอกันครั้งแรก การแนะนำตัวถือว่าเป็นการพูดคุยเล็กน้อย (small talk) ในงานสังสรรค์ทางสังคม หรืองานเลี้ยงต่าง ๆ การแนะนำตัวเองมี 2 วิธี คือ การแนะนำตัวเองแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ “How do you do?” ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ หลักจากที่แนะนำตัวเองเป็นครั้งแรก และตอบกลับ “How do you do?” ด้วย “How do you do?” ประโยค “How do you do?” ถือเป็นสำนวนสุภาพในการทักทายครั้งแรกของการรู้จักกัน หัวข้อที่สามารถนำมาใช้ในการสนทนาหลังการทักทายมีหลายหัวข้อ ดังนี้ การแนะนำสมาชิกในครอบครัว เช่น บทสนทนาเกี่ยวกับเครือญาติ โดยการแนะนำเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัว มักจะเป็นการถามเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว เช่น เรื่องการงานอาชีพ หรือที่พำนักอาศัย เป็นต้น คำว่า siblings หมายถึง พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน (มีพ่อแม่คนเดียวกัน) เป็นคำที่ไม่ระบุเพศ หรือความอาวุโสใด ๆ และเป็นคำที่เติม –s เสมอ หากเราจะพูดว่า ฉันมีพี่น้อง 5 คน สามารถพูดได้ว่า I have 5 siblings. เมื่อมีการถามเกี่ยวกับลักษณะครอบครัวเอเชีย ลักษณะเด่นของครอบครัวเอเชีย คือ เป็นครอบครัวใหญ่ หลายครอบครัวมีสมาชิกอาศัยอยู่รวมกันถึงสามรุ่นในบ้านเดียวกัน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ทำให้ครอบครัวหนึ่งอาจมีสมาชิกได้ถึง 7-10 คน และมักพบว่า สมาชิกสามรุ่นมักมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน
ประโยค Do you look like your dad or mom? ไม่ได้แปลว่า คุณชอบพ่อแม่ของคุณหรือเปล่า แต่หมายถึง คุณหน้าตาเหมือนพ่อแม่หรือเปล่า เพราะคำว่า look like เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) แปลว่า ‘ดูเหมือน’ และ การถามเกี่ยวกับลักษณะครอบครัวยุโรป ลักษณะเด่นของครอบครัวยุโรป คือ การเลี้ยงลูกให้มีความเป็นผู้ใหญ่และพึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่ยังเด็ก เด็กนักเรียนในยุโรปจำนวนมากเมื่อเข้าสู่วัยมัธยมปลายมักจะย้ายออกไปอยู่ข้างนอกด้วยตัวเอง และทำงานนอกเวลาเพื่อหาเลี้ยงตัวเอง ในการสนทนามักจะถามถึงวิถีการดำเนินชีวิตของเด็กวัยรุ่นที่แยกตัวออกมาจากครอบครัว
meet กับ meet with นั้นมีความหมายในเชิงลึกแตกต่างกัน meet somebody แปลว่า พบเจอโดยบังเอิญ หรือได้เจอกันเป็นครั้งแรก ในขณะที่ meet with แปลว่า พบปะ โดยมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกหัวข้อที่น่าสนใจ คือ การถามเกี่ยวกับภูมิลำเนา ส่วนใหญ่จะเป็นการถามเกี่ยวกับบ้านเกิดของคู่สนทนา ซึ่งคำตอบมักจะเป็นชื่อประเทศมากกว่าชื่อเมือง เว้นเสียแต่ว่าเมืองนั้น ๆ เป็นเมืองที่รู้จักดี จึงจะสามารถตอบเป็นชื่อเมืองได้
คำถามที่ว่า Where do you live? เป็นคำถามที่ผู้พูดต้องการจะถามว่า คุณอาศัยอยู่ที่ไหนในปัจจุบัน ไม่ใช่คำถามที่เกี่ยวข้องกับการถามภูมิลำเนา ดังนั้นเมื่อเจอคำถามนี้ ควรตอบว่า I live in + (ชื่อประเทศ หรือ ชื่อเมืองที่กำลังอาศัยหรือกำลังทำงานอยู่) สามารถดูตัวอย่างสำนวนและบทสนทนาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Real Life English (Conversational Practices)
แจ้งปัญหา