เครื่องเลื่อยกล และงานเลื่อย
เครื่องกลึงและงานกลึง

ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะ

ยอดวิว 5.9k
news

ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะ

สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องเจาะ

2.1 ดอกสว่าน



   1. กั่น (Tang) จะมีเฉพาะสว่านก้านเรียวเท่านั้น จะอยู่ตรงปลายสุดของก้านเรียว มีไว้สำหรับใช้เหล็กถอดตอกออกจากแกนเพลา (Spindle) ของเครื่องเจาะหรือถอดออกจากปลอกเรียว

   2. ก้าน (Shank) จะมีก้านของดอกสว่านอยู่ 2 แบบ คือ
       2.1 สว่านก้านตรง (Straight Shank Drill) เป็นสว่านที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1/2 นิ้ว หรือประมาณ 12.7 มม. เวลาใช้งานต้องจับด้วยหัวจับดอกสว่าน
       2.2 สว่านก้านเรียว (Taper Shank Drill) เป็นสว่านที่มีขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีขนาดมากกว่า 1/2 นิ้ว หรือ 12.7 มม.ขึ้นไป ตรงก้านเรียวเป็นเรียวมาตรฐานมอส เวลาใช้งานจะสวมเข้ากับรูเรียวของเครื่อง เช่น เครื่องเจาะ หรือรูศูนย์ท้ายของเครื่องกลึง ฯลฯ

   3. ขอบคม (Margin) มีลักษณะเป็นสันนูนออกมาจากผิวของดอกสว่าน ทำให้ลดการเสียดสีระหว่างผิวดอกสว่านกับชิ้นงาน

   4. สันคม (Land) ผิวส่วนนี้จะต่ำกว่าขอบคม เพื่อลดการเสียดสีกับชิ้นงาน

2.2 ดอกผายปากรู รีมเมอร์ และดอกตาปเกลียว

   การผายปากรู (Counter sink) เป็นการผายปากรูที่เจาะเป็นมุมเพื่อฝังหัวสกรูที่เอียงเป็นมุม ดอกผายรูมีขนาดและมีมุมหลายขนาด เช่น มุม 60 องศา มุม 90 องศา เป็นต้น


การรีมเมอร์ หรือการคว้านละเอียด (Reaming) งานบางอย่างผิวของงานจากการเจาะยังไม่เรียบพอ หรืออาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางจากการเจาะไม่ได้พิกัดตามต้องการ จำเป็นต้องรีมเมอร์อีกครั้งหนึ่ง
    ดอกรีมเมอร์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
        - ดอกรีมเมอร์ด้วยมือ (Hand Reamer)
        - ดอกรีมเมอร์ด้วยเครื่อง (Machine Reamer)


ดอกรีมเมอร์ที่รีมเมอร์ด้วยมือ



ดอกรีมเมอร์ที่รีมเมอร์ด้วยเครื่อง


2.3 อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ปากกา หัวจับดอกสว่าน ปลอกเรียว 

   ปากกาจับงาน (Vises) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและใช้มากในงานเจาะเพราะทำให้จับยึดงานได้สะดวกรวดเร็ว



    หัวจับดอกสว่าน (Drill Chucks) ใช้สำหรับจับดอกสว่านที่เป็นสว่านก้านตรงเพื่อใช้เจาะงานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หัวจับดอกสว่านขันด้วยประแจ และชนิดใช้มือขันจับ


    ปลอกเรียว (Sleeve) ใช้สำหรับสวมกับก้านเรียวดอกสว่านหรือสวมกับก้านเรียวของหัวจับดอกสว่านที่มีขนาดเล็ก ในกรณีเรียวในของเครื่องเจาะมีขนาดใหญ่กว่า