เครื่องเลื่อยกล และงานเลื่อย
เครื่องกลึงและงานกลึง

ขั้นตอนการทำงานของเครื่องเจาะ

ยอดวิว 10.7k
news

ขั้นตอนการทำงานของเครื่องเจาะ

สรุปเนื้อหา

ตอนที่ 3 ขั้นตอนการทำงานของเครื่องเจาะ

3.1 ขั้นตอนการทำงานของงานเจาะ

   1. ศึกษาวิธีการใช้เครื่องเจาะให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจต้องปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุม พร้อมทั้งศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องเจาะด้วย
   2. นำชิ้นงานมาร่างแบบให้ได้แบบที่ถูกต้อง พร้อมทั้งใช้เหล็กตอกร่างแบบและใช้เหล็กนำศูนย์ตอกนำศูนย์
   3. นำชิ้นงานมาจับยึดบนเครื่องเจาะให้แน่น อาจจับยึดบนโต๊ะงาน หรือจับยึดด้วยอุปกรณ์จับยึดงาน เช่น ปากกา C-Clamp เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน
   4. นำดอกสว่านที่ต้องการเจาะจับยึดบนเครื่องเจาะ กรณีต้องการเจาะรูที่มีขนาดใหญ่ ควรมีการเจาะไล่ขนาดจากเล็กไปหาขนาดใหญ่
   5. ปรับระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับปลายดอกสว่านให้เหมาะสม พร้อมปรับตำแหน่งที่จะเจาะให้ตรงตำแหน่ง
   6. ปรับความเร็วรอบให้ถูกต้อง ซึ่งหาได้จากการคำนวณ หรือจากตารางสำเร็จ
   7. ป้อนเจาะงานตามความลึกที่ต้องการเจาะ ถ้าเครื่องเจาะมีแขนตั้งระยะความลึกที่ต้องการเจาะ หรือสามารถป้อนอัตโนมัติได้ก็ทำการตั้ง เพื่อความสะดวกในการเจาะ ในการเจาะที่ต้องการตำแหน่งที่แน่นอนควรเจาะด้วยดอกเจาะนำศูนย์ก่อน จะได้ตำแหน่งของรูที่แม่นยำกว่า

3.2   การคำนวณความเร็วในงานเจาะ

    3.2.1 การคำนวณความเร็วตัด

การคำนวณความเร็วในงานเจาะจะมีความเร็วที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ ความเร็วรอบและความเร็วตัด

การคำนวณความเร็วตัด มีสูตรการคำนวณดังนี้

 (เมตร/นาที)

      เมื่อกำหนด   V = ความเร็วตัดงานเจาะ (เมตร/นาที)

                     N = ความเร็วรอบดอกสว่าน (รอบ/นาที)

                     D = ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางดอกสว่าน (มม.)

     3.2.1 การคำนวณความเร็วรอบ

 (รอบ/นาที)

        เมื่อกำหนด        N     =  ความเร็วรอบดอกสว่าน  (รอบ/นาที)

                            V     =  ความเร็วตัดงานเจาะ (เมตร/นาที)

                            D     =  ความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางดอกสว่าน (มม.)